Saturday, August 3, 2013

ธุรกิจไอศกรีมโฮมเมด

i-timtod_39
บท ความดี ๆ เกี่ยวกับแนวทางการทำธุรกิจไอศกรีมแบบโฮมเมด จาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย แนะนำแนวทางการทำธุรกิจ ที่คนเป็นเจ้าของธุรกิจไอศกรีมโฮมเมดควรจะได้อ่านค่ะ
ที่มา : http://www.kasikornbank.com/th/Personal/ThePremier/Knowledge/SMEClinics/Pages/Start_UpBusiness.aspx

ธุรกิจไอศกรีมโฮมเมดศูนย์วิจัยกสิกรไทย, มีนาคม 2555
ปัจจุบัน การเติบโตของตลาดธุรกิจร้านอาหารประเภทอาหารทานเล่น( Light Food) ซึ่งได้แก่ ร้านกาแฟ เครื่องดื่ม เบเกอรี่ และไอศกรีม กำลังเป็นที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะ “ธุรกิจร้านไอศกรีม” กำลังเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใหม่ เนื่องจากธุรกิจร้านกาแฟ และธุรกิจร้านเบเกอรี่มีคู่แข่งในตลาดหลายราย ในขณะที่ธุรกิจร้านไอศกรีม โดยเฉพาะ ธุรกิจร้านไอศกรีมโฮมเมด ที่เพิ่งได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ร้านไอศกรีมโฮมเมดน่า จะเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้งในด้านรูปแบบสินค้า กระบวนการผลิต ช่องทางการจำหน่าย การสร้างแบรนด์ งบประมาณการลงทุน และสัดส่วนตลาด ไอศกรีมโฮมเมด นับเป็นดาวรุ่งที่มาแรงที่สุด 
ไอศครีมทอด
อย่าง ไรก็ตาม เดิมไอศกรีมโฮมเมดผลิตเพื่อป้อนให้กับภัตตาคาร ร้านอาหาร หรือโรงแรมต่างๆ เพียงไม่กี่ราย แต่ในปัจจุบัน ตลาดไอศกรีมโฮมเมดมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ต่อปี หรือมีมูลค่าตลาดประมาณ 1,635 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30.0 ของมูลค่าตลาดรวมไอศกรีมพรีเมียม (คาดว่ามูลค่าตลาดประมาณ 5,450 ล้านบาท) เนื่องจากมีรสชาติที่หลากหลายและมีรูปแบบไอศกรีมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะร้าน โดยจำหน่ายในราคาที่ไม่แพง แต่ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ มีการคัดเลือกใช้วัตถุดิบตามความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งใช้จำนวนเงินลงทุนไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับการตั้งโรงงานผลิต ไอศกรีม แต่ทั้งนี้ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของแบรนด์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั่วไป รวมไปถึงจำนวนสาขาและปริมาณการผลิตที่อาจไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ บริโภค
ไอศครีมทอด
กลยุทธ์สำคัญของร้านไอศกรีมโฮมเมดคือการสร้างให้แตกต่าง (DIFFERENTIATION)ซึ่งการสร้างความแตกต่างสามารถทำได้จากหลายช่องทาง ดังนี้
ไอศครีมทอด
1. การสร้างความแตกต่างที่ตัวสินค้า (PRODUCT DIFFERENTIATION) 
ไอศกรีม รสชาติแปลกใหม่ ทำให้ไอศกรีมโฮมเมดแจ้งเกิดได้ในตลาด เช่น ไอศกรีมรสชาติผลไม้พื้นเมือง เช่น กระท้อน มะยม น้อยหน่า มะพร้าวอ่อน เป็นต้น หรือไอศกรีมสมุนไพร เช่น ชาใบหม่อน อัญชัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในโลกธุรกิจการมีสินค้าแปลกใหม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป แต่ก็ต้องสินค้าคุณภาพรสชาติมาตรฐานที่ผู้บริโภคพึงพอใจด้วย
ไอติมทอด
2. การสร้างความแตกต่างที่ราคาขาย (PRICE DIFFERENTIATION) 
เสน่ห์ อย่างหนึ่งของไอศกรีมโฮมเมด คือ หากินไม่ง่ายโดยเฉพาะเจ้าอร่อย อาจเป็นเพราะกรรมวิธีการผลิต วัตถุดิบมีจำกัดหรือแพง ทำให้การตั้งราคาขายของร้านไอศกรีมโฮมเมดจึงขยับไปสูงได้กว่าไอศกรีมรสชาติ ปกติไปด้วย ซึ่งราคาขายของไอศกรีมโฮมเมดต่อหนึ่งสกู๊ปโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 35-50 บาทขึ้นไป
3. การสร้างความแตกต่างที่ช่องทางจำหน่าย (PLACE DIFFERENTIATION) 
ก่อน หน้าที่ไอศกรีมโฮมเมดจะเข้ามาเปิดตลาดในห้างค้าปลีกสมัยใหม่ได้นั้น ผู้ประกอบการไอศกรีมโฮมเมดจะตั้งร้านของตัวเอง (Stand Alone) โดยเลือกทำเลย่านชุมชน และใช้กลยุทธ์ปากต่อปากเป็นการเพิ่มลูกค้า นี่เป็นอีกเสน่ห์ของร้านไอศกรีม โฮมเมดที่ทำให้นักชิมหลายคนต้องดั้นด้นค้นหาเพื่อมาทานที่ร้านโดยเฉพาะ (Destination) ซึ่งจะเป็นส่วนในการสร้างแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ทำเลที่ตั้ง ต้องเป็นสถานที่ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงต้องเป็นแหล่งศูนย์รวมมากพอที่ทำให้ลูกค้ามีโอกาส และมีความสะดวกในการใช้บริการ
ไอติมทอด
นอกจากกลยุทธ์การตลาดที่สร้างความแตกต่างแล้ว ปัจจัยสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของธุรกิจร้านไอศกรีมโฮมเมด คือ การบริการของพนักงาน ความเอาใจใส่ มารยาทสุภาพ และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของพนักงาน จะมีผลต่อการเลือกบริโภคไอศกรีมของผู้บริโภคมากขึ้น และบรรยากาศของร้าน สามารถ สร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคได้ ดังนั้นการตกแต่งร้านต้องเน้นความแปลกใหม่และทันสมัย รวมทั้งต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และจะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมของของกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป

No comments:

Post a Comment