Wednesday, August 14, 2013

ซอฟท์เสิร์ฟ

220px-Soft_Ice_cream
วันนี้ จะมาเล่าเรื่องต้นกำเนิดไอศครีมซอฟท์เสิร์ฟ เนื่องจากไปลาดตระเวนโดยชวนคุณเพื่อนๆไปหาไอศครีมขึ้นห้างทานกันดูบ้าง ถือโอกาสไปตากแอร์ด้วยเนื่องจากตอนนี้ประเทศไทยอากาศร้อนมากๆ จนเกิดความอยากรู้เลยไปหาข้อมูลมา ว่าเจ้าไอศครีมเนื้อเนียนนุ่ม หอมหวานที่มีจำหน่ายตามตามห้างสรรพสินค้านั้น มันเรียกว่าอะไร และเกิดมาได้ยังไง ใครเป็นผู้ริเริ่ม เพราะเราเห็นก็เป็นแบรนด์สินค้าแล้วนะ หม่ะเริ่มต้นกันที่
ประวัติความเป็นมาของไอศครีมซอฟท์เสิร์ฟ
ใน ปี 1934 ทอม Carvel ผู้ก่อตั้งแบรนด์และแฟรนไชส์ Carvel รถประสบเหตุยางแบนซึ่งภายในรถได้บรรจุไอศครีมของเขาเอาไว้ ในเมือง Hartsdale, นิวยอร์ก เขาจึงนำรถที่ยางแบนเข้าจอดที่ลานจอดรถและเริ่มขายไอศกรีมของเขาที่เริ่ม ละลายให้ กับผู้ที่มาพักผ่อนที่สัญจรไปมา ภายในระยะเวลาสองวันเขาสามารถขายไอศครีมทั้งหมด เขาจึงได้แนวคิดการทำธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และ สินค้าไอศครีมซอฟต์เสิร์ฟที่มีโอกาสทางธุรกิจได้สูง ในปี 1936, Carvel จึงได้เปิดสาขาแรกของเขาบนรถคันที่เสียของเขา และเริ่มต้นการพัฒนาความลับของสูตรซอฟต์เสิร์ฟไอศครีม พร้อมๆกับที่จดสิทธิบัตรเครื่องทำไอศครีมซอฟต์เซิร์ฟ
แต่ ถึงกระนั้น Dairy Queen ยังอ้างว่าได้คิดค้นซอฟต์เสิร์ฟ ในปี 1938 ใกล้เมือง Moline, รัฐอิลลินอยส์, JF McCullough และลูกชายของ Alex ได้พัฒนาสูตรซอฟต์เสิร์ฟของพวกเขา และเริ่มการทดลองขายครั้งแรกคือเมื่อ 4 สิงหาคม 1938 ใน Kankakee, รัฐอิลลินอยส์ ที่ร้านชื่อโนเบิลเฮิร์บ ทำให้พวกเขาขายไอศครีมทอดซอฟต์เสิร์ฟได้ถึง 1600 ที่ ภายในสองชั่วโมง
อ่านไปมาก็ยังไม่รู้แบบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้คิดค้นกันแน่แต่เอาเป็นว่าเราได้รู้แล้วล่ะว่ามีความเป็นมาอย่างไรไอศครีมทอด
คุณลักษณะและการผลิตไอศครีมซอฟท์เสิร์ฟ
ซอฟต์ เสิร์ฟ หรือ ซอฟต์ครีม เป็นคำที่ใช้เพื่ออธิบายประเภทของไอศครีมที่นุ่มและเนื้อเนียนกว่าไอศครีม ปกติ ซอฟต์เสิร์ฟโดยทั่วไป จะมีไขมันต่ำ (3-6%) กว่า ไอศครีม (10-18%) และมีการผลิตที่อุณหภูมิประมาณ -4 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับไอศครีมซึ่งเก็บไว้ในเครื่องทำความเย็นที่ -15 องศาเซลเซียสไอศครีมทอด ไอศครีมซอฟต์เสิร์ฟจะมีการนำอากาศใส่เข้าไปในขณะที่ปั่นไอศครีม โดยเรียกว่า “overrun” ซึ่งจะมีสัดส่วนตั้งแต่ 0-60% ของเนื้อไอศครีม อากาศเป็นตัวแปรหลักในการทำให้รสชาติไอศครีมชนิดนี้แตกต่างกันออกไป ปริมาณอากาศที่น้อยกว่า จะทำให้มีรสชาติที่เข้มข้นกว่า สีจะเข้มกว่า และอาจจะมีเกร็ดน้ำแข็งบ้างในบางโอกาส ส่วนไอศครีมที่มีปริมาณอากาศมากกว่า จะเนื้อมีสีขาวกว่าและรสชาติไอศกรีมจะไม่เข้มข้นเท่า ปริมาณอากาศที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 33-45% ของปริมาตรไอศครีม เพื่อป้องกันการไม่ให้เกิดเกร็ดน้ำแข็ง เครื่องทำไอศครีมจะต้องทำไอศครีมแข็งตัวเร็วที่สุด โดยปกติแล้วเครื่องทำไอศครีมซอฟต์เสิร์ฟควรจะมีที่รักษาอุณหภูมิที่ 3-4 องศาเซลเซียส และ เครื่องจะทำงานโดยการปั่นไอศครีมจากกระบอกผลิต มีทั้งระบบ Gravity และ Air Pump
ส่วนผสมของไอศครีม
ส่วน ผสมสด – สามารถเก็บรักษาไว้สูงสุด 5-7 วัน แต่ควรระวังเป็นอย่างยิ่งในการจัดเก็บและการผสม เนื่องจากหากเกิดการเจือปน หรือโดนอากาศร้อน อาจก่อให้เกิดแบคทีเรีย ซึ่งสามารถทำให้ผู้ที่รับประทานท้องเสียได้ง่ายไอติมทอด
ส่วน ผสมแบบผง – ข้อได้เปรียบคือ สามารถเก็บไว้ได้นาน สะดวก และไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะในการเก็บ แต่รสชาติอาจผิดเพี้ยนไปได้เนื่องจากต้องผสมน้ำ ซึ่งน้ำในแต่ละที่จะรสชาติไม่เหมือนกัน และผู้ผสมอาจใส่น้ำมากเกินไปหรือน้อยเกินไปได้ หลังจากผสมแล้วควรเก็บไว้ในที่ 1-4 ° C เพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในน้ำและอากาศ แต่ไม่ควรใช้น้ำอุ่นในการผสม เนื่องจากจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้เร็ว และที่สำคัญที่สุดผลิตภัณฑ์ที่ใช้ควรได้รับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา เนื่องจากนมมีสารเจือปนได้ง่ายเช่น เมลิมีน และได้มีการลักลอบผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด โดยผู้บริโภคไม่มีความรู้หรือไม่ได้ระมัดระวังในเรื่องนี้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องโดนฟ้องร้องจากการขายสินค้าที่มีปัญหากับผู้บริโภคได้ ปัจจุบันในประเทศไทยมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากประเทศ China, Italy, New Zealand, Australia , USA และผลิตเองในประเทศไทยไอติมทอด
ส่วน ผสมแบบน้ำ – ข้อได้เปรียบคือ สามารถเก็บได้นาน รสชาติไม่ผิดเพี้ยน แต่จัดเก็บลำบากกว่าแบบผง เมื่อเปิดภาชนะบรรจุแล้ว ควรทำตามขั้นตอนของส่วนผสมแบบผงในทันที
จะเห็นได้ว่าไอศครีมนั้นมี หลายชนิด ทั้งนี้แล้วแต่ลักษณะของแต่ละประเทศว่าจะถนัดหรือคิดริเริ่มทำไอศครีมออกมา ซึ่งปัจจุบันยังคงสร้างความสะดวกสบายในการทำไอศครีมทานที่บ้านหรือจะมีแนว คิดเปิดเป็นร้านขายไอศครีมเล็กๆได้ด้วยเครื่องทำไอศครีม soft serve ก็ เห็นจะเข้าที มิใช่น้อยเนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองที่มีช่วงร้อนมากกว่าช่วงหนาว ก่อนจากไป ต้องขอขอบคุณที่มาของข้อมูลบางส่วน http://th.wikipedia.org
ขอบคุณที่มาจากhttp://www.xn--42cair2dc9cboqde2d8a9acf7f4bm7a9qra9ftetfoa.com/?p=32

No comments:

Post a Comment